ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
1. วิธีดำเนินการ
พิจารณาจากการดำเนินการที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง และสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะ
ประเด็นท้าทาย การพัฒนาทักษะการอธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านได้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
ที่เรียนวิชาภาษาไทย ท 22101 เรื่องการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ และ การใช้กระบวนการ Active Learning
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการอธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านได้ พบว่า นักเรียนมีปัญหาด้านการวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดี ทำให้ไม่ผ่านตัวชี้วัดดังกล่าว ครูจึงพัฒนาและสร้างสื่อการสอน เรื่องการวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดี โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาทักษะการอธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านได้
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย( ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาระที่ 5 วรรณคดี และวรรณกรรม มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ตัวชี้วัดที่ 3. อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านได้ ได้เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณลักษณะและตัวบ่งชี้
2.2 ศึกษาเอกสารและรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านได้
2.3 ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากนักเรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์
2.4 ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านโดยใช้กิจกรรม Active Learning เข้ามาเป็นหลักในการจัดกิจกรรม
2.5 จัดทำสื่อและนวัตกรรมเรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
2.6 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการอธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
2.7 นำสื่อและนวัตกรรมไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาสื่อและนวัตกรรมให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
2.8 ผู้สอนจัดกิจกรรมการสอน ดังนี้
เนื่องจากกิจกรรมการวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดี ต้องใช้การอ่านร่วมด้วย ดังนั้น ผู้สอนจึงนำขั้นตอนการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพที่มาใช้ควบคู่กับ กระบวนการ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามแนวทาง PISA มาปรับใช้ ซึ่ง มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดวรรณคดีเรื่องที่จะอ่าน คือ โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นการตั้งเป้าหมายว่าจะอ่านเรื่องอะไร เพื่อค้นหาคำตอบ
ขั้นที่ 2 ทำการอ่านเนื้อเรื่องทั้งหมด โดยผู็สอนเตรียมไฟล์เนื้อหา เร่ืองราวที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อ ในขั้นแรกอ่านโดยยังไม่ต้องคำนึงถึงการจับประเด็นสำคัญ แต่อ่านเพื่อให้รู้ก่อนว่าเรื่องที่อ่านนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แล้วจึงทำการอ่านอย่างละเอียด เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลของเรื่องที่อ่าน
ขั้นที่ 3 การตั้งคำถาม เมื่ออ่านจบ ให้ผู้อ่านตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่ามีเนื้อความตอนใดในเรื่องที่ตนไม่เข้าใจหรือไม่ ซึ่งการตั้งคำถามกับตัวเองในลักษณะนี้เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยให้ผู้อ่านตระหนักรู้ว่าตนเองเข้าใจเรื่องที่อ่านมากน้อยเพียงใด จะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขส่วนนั้นๆ
ขั้นที่ 4 การจำแนกและจับใจความสำคัญของเรื่อง เป็นการหาคำตอบว่าตัวละครเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร รวมทั้งจำแนกเนื้อหาทั้งส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ซึ่งในขั้นนี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น นักเรียน ทำการเขียนแผนภาพความคิด (mind map)
ขั้นที่ 5 วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของเรื่อง ว่าเนื้อเรื่องที่อ่านนั้น ผู้เขียนต้องการสื่อสิ่งใดมายังผู้อ่าน เนื้อเรื่องนั้นให้ข้อคิด หรือคติใดบ้าง ตลอดจนวิเคราะห์ไปถึงทรรศนะของผู้เขียน
ขั้นที่ 6 การสรุปเนื้อเรื่อง เป็นการให้ผู้อ่านสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จากเนื้อเรื่องที่อ่านในขั้นตอนที่ผ่านมา และออกมานำเสนอแผนภาพความคิด
ขั้นที่ 7 ประยุกต์และนำไปใช้ นำผลจากการเรียนรู้ไปประเมินว่าสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ซึ่งจะช่วยให้การอ่านบรรลุผลอย่างสมบูรณ์
2.9 นักเรียนทำแบบทดสอบ 20ข้อ
2.10 ผู้สอน นำผลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้เรื่อง เรื่องการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ และ การใช้กระบวนการ Active Learning มาเขียนรายงานวิจัยข้อที่ค้นพบ เพื่อเป็นผลสะท้อนในการใช้สื่อและนวัตกรรม และนำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ผู้เรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
กิจกรรมการเรียนการสอน
แสดงความรู้ความคิด
สร้างชิ้นงานจากความรู้ที่ได้
นำเสนอผลจากการเรียนรู้
ภาพรวมความสำเร็จ
ผลงานนักเรียนเก่ง
ผลงานนักเรียนกลาง
ผลงานนักเรียนกลาง
ผลงานนักเรียนอ่อน
แผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี
สื่อและนวัตกรรมที่ใช้ เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม เรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
รูปแบบการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามแนวทาง PISA
กระบวนการ Active Learning
สื่อ power point เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
7 ขั้นตอนการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
ตามแนวทาง PISA
กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning
สื่อ power point เรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
รายงานวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ที่เรียนวิชาภาษาไทย ท 22101 เรื่องการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ และ การใช้กระบวนการ Active Learning ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก